วันศุกร์ที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ชีวิตที่สดใส

ชีวิตที่สดใส

ทำอย่างไรชีวิตถึงดีขึ้น เป็นคำถามโลกแตกที่ได้ยินตลอดเวลา ทุกชาติทุกภาษา ทุกชนชั้น พูดคำนี้หมด บางท่านพูดจนจำไม่ได้ว่าในหนึ่งชีวิตได้เอ่ยคำนี้มากี่ครั้งแล้ว นั่นสิ ทำอย่างไรชีวิตนี้จึงจะดีขึ้น บางคนบนบานศาลกล่าวขอให้มีชีวิตดีเถิด จะแก้บนด้วยนั่นนี่ตามกำลังฐานะของแต่ละคน หวังพึ่งพาอาศัยอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดกำลังใจเป็นความหวังแบบหวังน้ำบ่อหน้า ท่านหลวงปู่โตพรหมรังสี เคยกล่าวไว้ว่า อย่าได้ขอบารมีจากใครเลย เพราะเมื่อท่านไม่สร้างด้วยตนเองแล้วจะหวังให้ใครช่วย หากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยได้จริงๆ แล้วต่อไปภายหน้าจะเอาทุนบุญกุศลที่ไหนมาชดใช้คืนให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ในเมื่อเราไม่ได้มีไม่ได้สร้างด้วยตัวเอง มัวแต่ขอและหยิบยืมของคนอื่นตลอดเวลาเช่นนี้
ที่จริงแล้วชีวิตของเรานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครทั้งสิ้น ตัวเรานี่แหละเป็นเจ้าของไม่ว่าเราจะสุขหรือทุกข์ ร่ำรวยหรือยากจน มีร่างกายครบสามสิบสองหรือพิกลพิการ สวยงามหรือขี้เหล่สักปานใดล้วนเป็นเรื่องของบุญธรรมกรรมแต่งทั้งสิ้น หากเราเข้าใจเพียงเท่านี้ทุกอย่างย่อมเสกสรรได้ด้วยสองมือกับหนึ่งหัวใจนี่แหละ เพียงแต่ที่ผ่านมาเราไม่เข้าใจเรื่องของบุญธรรมกรรมแต่ง ปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามเวรตามกรรมอย่างไม่มีเข็มทิศนำทาง ไม่คิดจะเป็นสถาปนิกชีวิตกันบ้างเลย บ้านช่องก็ต้องการคนตกแต่งดูแล ชีวิตก็ต้องการการตกแต่งดูแลเช่นกัน ความจริงพูดแค่นี้ก็เข้าใจในธรรมได้แล้ว (สำหรับคนที่ปฏิบัติธรรมมาบ้าง ยิ่งถ้าใครปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดยิ่งเป็นสถาปนิกมือเอกเลยทีเดียว)
ลองมาตั้งต้นคิดหาสิ่งตกแต่งชีวิตที่วิจิตรในทางบุญกันดูบ้างเป็นไร เริ่มจากการซื้อที่ดิน เคยได้ยินไหมว่า ทำบุญกับผู้ทรงธรรมบริสุทธิ์ย่อมได้บุญสูงยิ่งถ้าได้ทำกับพระปัจเจกเมื่อตอนที่ท่านออกจากสมาบัติใหม่ๆยิ่งเป็นมหากุศลอันยิ่งหาสิ่งใดเทียมได้ เมื่อมีที่นาแล้วก็ตามด้วยการไถคราด หาเมล็ดพันธ์ชั้นดีชนิดให้ผลเกรดเอมาเพาะปลูก และเมื่อบำรุงเลี้ยงจนกลายเป็นต้นกล้าแล้วก็ต้องบำรุงใส่ปุ๋ย ป้องกันแมลงและวัชพืช (ความชั่ว กิเลสมารทั้งหลาย) รดน้ำพรวนดิน(คือการเร่งสร้างความดี สร้างบุญกุศลให้มาก) ที่สุดเก็บเกี่ยวผลผลิต (คือได้รับบุญที่ตนทำมาทำให้มีแต่ความสุขความเจริญทำอะไรก็ประสพผลสำเร็จ) สาธยายมามากมายเหมือนขับรถอ้อมโลกจุดประสงค์ไม่มีอะไรมาก ก็แค่อยากบอกว่า ชีวิตคนก็เหมือนต้นไม้ควรเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ถ้าทอดทิ้งเสียแล้วก็ยากที่จะได้ผลผลิตที่ดีเยี่ยม
จากบรรทัดนี้ไป เรามาช่วยกันปลูกต้นไม้แห่งชีวิตกันดีกว่าเรียกต้นไม้นี้ว่า “ต้นบุญต้นกุศล”ดี หรือเรียกว่า “ต้นไม้แห่งชีวิต” ดี เอาไว้ตอนจบค่อยมาคิดอีกทีจะดีไหม ใครจะตั้งชื่ออะไรตามที่ตนเองรู้สึกว่าใช่ตามใจปรารถนา ชีวิตคนหนึ่งคนสะสมบุญบาปมานับชาติไม่ถ้วนเป็นแสนกัปกัลป์ พอมาถึงชาตินี้หวังจะเปลี่ยนชีวิตให้ดีดังพลิกฝ่ามือกันในชาติเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ลองเปรียบเทียบกับเสื้อผ้าสีขาว หรือผ้าขาว ทำไมคนถือศีลจึงต้องนุ่งห่มผ้าขาว นั่นก็เป็นปริศนาธรรม ทำไมไม่ใส่สีอื่นซึ่งดูแลรักษาง่ายกว่าตั้งเยอะ เข้าไปรักษาศีลที่วัดนอนกับดินกินกับทราย ยืน เดิน นั่ง นอนล้วนติดดินทั้งสิ้น เปรอะเปื้อนง่ายแต่ก็สามารถรักษาให้สะอาดได้ดี ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ นั่นเพราะผู้ถือศีลมีการสำรวมระวังเป็นพิเศษในอิริยาบถทั้งสี่ โดยเฉพาะการรักษาใจ จะคิด พูด อ่าน เขียน ล้วนต้องเป็นบุญไม่ให้เกิดเป็นโทษเป็นบาป เพราะนั่นถึงท่านจะใส่เสื้อผ้าสีขาวตลอดชีวิต ท่านก็ยังเป็นคนบาปอยู่ดีหากท่านไม่คิดหรือทำในสิ่งที่ดี มัวแต่คิดจะเบียดเบียนผู้อื่นไม่เว้นแต่ละวัน เหมือนหาไฟนรกมาใส่ไว้ในอกในใจ ซึ่งคนประเภทนี้มีอยู่ไม่น้อย เป็นเหลือบในพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เคยได้ยินคำพังเพยที่ว่า “นกกระยางขาวปลอดตลอดตัวก็ยังกินปลา” หรือไม่ หากเคยได้ยินคงซาบซึ้งถึงข้อธรรมอันนี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว คนจะขาวสะอาด หรือเป็นผู้ดีไม่ใช่ที่ใบหน้าหรือฐานะทางสังคม มันต้องเกิดมาจากภายในจิตใจที่ได้สั่งสมอบรมมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนชาติปัจจุบัน คำว่าสันดาน ไม่ใช่คำหยาบคายแต่เป็นคำโบราณ ที่หมายถึงนิสัยที่สั่งสมมานาน จนกลายเป็นสันดาน และอีกคำคือ คำว่าวาสนา นั้นก็มิได้แปลว่า การมีวาสนาเหนือคนอื่นอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป ความจริงคำว่าวาสนาหมายถึง การที่เราสั่งสมอุปนิสัยความเคยชินทั้งดีทั้งชั่วมานับชาติไม่ถ้วน แล้วกลั่นออกมาเป็นวาสนาในปัจจุบันชาติ เช่นบางท่านหน้าตาดีสวยสดงดงาม แต่มารยาทแสนทราม นั่นก็เพราะสะสมความหยาบกระด้างแห่งกมลสันดานไว้อย่างหนาแน่น เกิดมากี่ชาติถ้าไม่แก้ไขนิสัยใหม่แล้วยากเต็มทีที่จะรักษาให้หายได้คงติดตัวไปจนกาลนาน การแก้นิสัยตั้งแต่บัดนี้ย่อมเป็นการแก้กรรมไปในตัว และที่สุดก็แก้นิสัยอันเป็นเหตุแห่งวาสนาในอนาคต หรือวาสนาที่ดีจะได้เกิดกับท่านในชาติหน้านั้นเอง มานับหนึ่งกันเถิด
ไม่ว่าในปัจจุบันนี้ท่านจะมีอายุเท่าไรก็ตามมาเกิดใหม่กันเถอะยังทัน ทุกอย่างต้องมีการปรับปรุงแก้ไข และมีกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ หากไม่มีกฎระเบียบเสียแล้วย่อมเละเทะ หาความเจริญก้าวหน้าได้ยาก เพราะอยู่อย่างไร้ระเบียบ
ทำไปทำมาพากันจัดทัวร์นรกกันอย่างรื่นเริง นรกมันถึงล้นด้วยวิญญาณคนชั่วไง นรกแตก ผีนรกเลยหลุดมาอยู่บนโลกทั่วทุกหัวระแหงอย่างทุกวันนี้ พาเอาคนดีหนีเข้าป่ากันไปหมดคนชั่วเลยครองเมือง
กำหนดใจเป็นสิ่งแรก นั่นคือ เริ่มคิดว่าใจเราดี ทำแต่สิ่งดีๆ และจะพูดก้อพูดแต่สิ่งที่ดี มีความเมตตาต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอีกด้วย คงเคยได้ยินคำว่า ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว กันมาบ้างแล้ว นั่นเป็นสัจจะจริง หรือ บางท่านก็คงเคยได้ยินคำว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ที่ใจ หากใจยังสู้ทุกอย่างย่อมไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในประวัติศาสตร์ หลายครั้งที่ความพินาศการเสียเอกราชเกิดขึ้นจากความแตกสามัคคีของคนในชาติเป็นสาเหตุสำคัญ แตกความสามัคคีเพราะใจมันแตกมันไม่รวมเป็นใจเดียวกัน ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างแข่งแย่งบุญวาสนา ไม่โอบอุ้มไม่เมตตาต่อกัน ล้วนอยากเป็นใหญ่ไม่มีใครยอมเป็นเล็ก นั่นแหละหนทางแห่งความพินาศ บ้านเมืองพังวอดวายเสียเอกราชก็เพราะใจที่หยาบช้าไม่รู่จักเสียสละไม่รู้จักการให้ มันมีแต่อยาก อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่รู้จักพอ เลยกอบโกยเอาความชั่วใส่ตัว เห็นผิดเป็นชอบอยู่เสมอเป็นปกติ สะสมวาสนาชั่ว เป็นนิสัยใหม่ในชาติต่อไป กลายเป็นอาชญากรสังคมคนสำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง ตามวาสนาชั่วที่สะสมมา บางคนสะสมความมีจิตดี ใจดี ใจบุญ ใจมีเมตตาไม่กล้าทำความชั่ว ไม่กล้าแม้แต่จะคิดชั่ว เมื่อไม่คิดเสียแล้ว ใจก็ไม่สั่งให้กายทำชั่ว วาจาก็ไม่ชั่ว รวมแล้ว สะสมวาสนาบารมีแต่ดีๆไว้ ชาติหน้าวาสนาดีเป็นคนวาสนาดีไปทุกสิ่งอย่าง ทำอะไรก็มีแต่ความสำเร็จก้าวหน้า เข้าหลักธรรมที่ว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นคำที่ได้ยินมาเนิ่นนานประมาณกาลไม่ได้ แต่คำนี้เป็นคำอมตะใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
สรุป แทนที่เราจะมานั่งบ่นว่าเมื่อไรชีวิตถึงจะดีขึ้น หรือเที่ยวบนบานศาลกล่าวรอฟ้าบันดาล สู้เรามาเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยสองมือกับหนึ่งสมองของเราเองจะดีกว่า ที่ว่าตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสสอนให้ใครหวังพึ่งลมๆ แล้งๆ แต่ที่เราได้ยินเสมอคือให้พึ่งตนเอง ให้เชื่อในกฎแห่งกรรม กรรมคือการกระทำ การกระทำคือกรรม ใครทำใครได้ไม่สามารถยกให้แก่กัน ดังนั้นถ้าอยากเป็นเศรษฐีก็ต้องขยันและรู้จักใช้จ่าย รู้จักการเรียนรู้ในโลกแห่งธุรกิจ รู้จักหาโอกาสที่จะทำกำไร หูตากว้างไกล หรือบางคนชอบความสงบ อยากเป็นผู้รู้แตกฉานในวิชาธรรมก็ต้องลงมือปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เก่งแต่ทฤษฎี และเก่งวิพากษ์วิจารณ์ คอยจ้องจับผิดในธรรมของคนอื่น แทนที่จะจับที่ใจของตนเองตามดูจิตให้ทันว่า ขณะนี้จิตติดดี(อาการฟู) หรือ จิตติดชั่ว(อาการแฟบ) หรือจิตเฉย(ไม่ฟูไม่แฟบ) มองหาข้อบกพร่องของตนเองว่ายังอ่อนในธรรมข้อไหน ควรเร่งพัฒนาปฏิบัติธรรมข้อไหนให้ก้าวหน้า เร่งหาทางหลุดพ้น ไม่ใช่มองหาแต่พระนิพพานในฝันส่วนชีวิตจริงทำตนวิ่งหาขุมนรก เคยเห็นบางคนเข้าวัดไปปฏิบัติธรรม แต่ยังไปนินทาเรื่องของชาวบ้าน เรื่องของลูกเขย-ลูกสะใภ้ ไปรดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ไปหาหวยกับพระอาจารย์ดัง ไม่เคยเคารพในธรรมที่ว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว หนักไปกว่านั้น บางคนหลงรูปพระรูปชี ไม่เห็นหน้ากินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับก็มี พาให้ศาสนาเสื่อมก็เพราะไอ้พวกจัญไรทั้งหลายเหล่านี้แหละ
ความดี วาสนาดี ชะตาชีวิตดี ล้วนเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเรา มีแต่เราเท่านั้นที่เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ มีแต่คนเท่านั้นที่สร้างประวัติศาสตร์ ทั้งของตนเองและของผู้อื่น สัตว์อื่นสร้างประวัติศาสตร์ไม่ได้ เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่มีภาษา สื่อสารเป็นอักษรไม่ได้ แม้แต่ในนรกยังมีประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษาเลย นั่นก็คือบัญชีบุญ-บาปของแต่ละคนมันคือประวัติศาสตร์ที่ท่านเขียนไว้เองทั้งสิ้น ส่วนเทวดาเป็นเพียงผู้อ่านให้ท่านฟังก็เท่านั้น
หวังว่าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปท่านคงเป็นบุคคลอีกผู้หนึ่งที่เขียนประวัติศาสตร์อันมีค่าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป อยากเห็นท่านมีวาสนาดีด้วยกันทุกคน ขอธรรมจงรักษาท่านไปทุกชาติตลอดจนก้าวเข้าสู่พระนิพพานเทอญ


เกษแก้ว ศรัทธาโพธิธรรม

เสบียงธรรมนำชีวิต

เสบียงธรรมนำชีวิต


พระโอวาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงกรุณาตรัสสอนไว้ให้พุทธบริษัทได้พึงปฏิบัติตาม
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง,
กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้,เป็นคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
การไม่พูดร้าย,การไม่ทำร้าย, การสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง, ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
“เสบียงธรรม” จุดมุ่งหมายที่จะพูดในความหมายของเสบียงธรรม คือ เป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่มั่นใจว่า อย่างไรซะเราก็ต้องกลับมาเกิดอีกแน่นอนแต่จะเกิดเป็นอะไรนี่สำคัญกว่า ตามหลักพระพุทธศาสนากล่าวว่า คนเราสามารถกำหนดได้ว่าจะไปเกิดเป็นอะไรก่อนที่ตนเองจะตาย กำหนดช้าสุดก็ตอนลมหายสุดท้าย หรือถ้าคนใดรู้เท่าทันกรรม ก้อกำหนดทุกลมหายใจรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เชื่อในพระธรรมที่ว่า “บาปมีจริง บุญมีจริง ทุกอย่างถูกกำหนดด้วยกรรม” คนฉลาดย่อมสามารถกำหนดชาติใหม่กันตั้งแต่ยังไม่ตาย รีบเก็บเกี่ยวคุณงามความดี สั่งสมบุญบารมีอันขาวรอบเพื่อเป็นเสบียงไปไว้ใช้ในลมหายใจหน้า ที่สุดคือชาติหน้าหรือจนกว่าจะสู่แดนอมตะคือแดนนิพพาน
เสบียงธรรม คือ เสบียงบุญ เสบียงที่ใช้เลี้ยงชีวิต จะยากดีมีจนก็อยู่ตรงนี้แหละว่าใครพกบุญมามากกว่ากัน คนไหนขนเอาบาปติดตัวมามากชีวิตก็ทุกข์ทนทุรนทุรายมาก จะตายก็ไม่ได้ต้องทนทุกข์ไปจนกว่าจะสาสม ส่วนคนไหนนำบุญติดตัวมามากชีวิตก็ดูวิจิตรบรรจง ขนาดถ้วยชามช้อนส้อมยังตกแต่งด้วยลายทองก็มากมี มันเป็นเรื่องที่น่าทึ่งแต่เป็นเรื่องจริง นั่นสิแล้วเราๆท่านๆ จะมัวปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไปวันๆ อย่างเรือไม่มีหางเสือกันอย่างนั้นหรือ ไม่อยากลำบากอีกต่อไป ไม่อยากกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสิ่งที่น่าเบื่อที่สุดอีกต่อไป ก้อคงต้องมาศึกษาหาวิธี เตรียมเสบียงไว้ยังชีพเป็นประเด็นแรก ก่อนออกเดินทางสู่หนทางแห่งมรรค ก้าวล่วงพ้นจากกรรม
มนุษย์แบ่งออกเป็น ๔ เหล่า คือ
๑. มืดมามืดไป ๒. มืดมาสว่างไป
๓. สว่างมามืดไป ๔. สว่างมาสว่างไป
ตามที่บางท่านอาจเคยได้ยินข้อธรรมเหล่านี้มาบ้างแล้ว แต่เคยสำรวจตนเองบ้างหรือไม่ว่า ตนนั้นเข้าข่ายในข้อไหนถ้าเป็น ข้อหนึ่ง ผู้ที่มืดมาแล้วมืดไป ได้แก่ บุคคลที่เกิดมามีแต่ความขัดสนจนยาก เกิดในตระกูลต่ำ ทั้งยังมีโรคภัยเบียดเบียน นิสัยใจคอเป็นคนตระหนี่ กาย วาจา ใจยังหยาบกระด้าง ทำแต่ความชั่วมิได้มีความละอายใจแต่อย่างใด เมื่อตายเห็นทีน่าใจหายน่าสงสารเพราะอเวจีนรกเป็นที่หมายแน่นอนมาจากนรกก็กลับไปนรกช่างน่าเศร้าจริง
ข้อสอง ผู้ที่มืดมาสว่างไป หมายถึง ผู้ที่เกิดมาในตระกูลต่ำแต่มีใจศรัทธาในการทำความดี นับถือพระพุทธศาสนาละเว้นความชั่วกลัวอบาย ก็ค่อยยังชั่วหน่อยควรแสดงความยินดีด้วยที่ชีวิตมีการพัฒนาบ้างที่ได้รู้วิธีพัฒนาจิตวิญญาณให้ดีขึ้นพ้นจากอเวจีขึ้นมาได้ตายไปสู่สุคติโลกสวรรค์เป็นที่หมาย
ข้อสาม ผู้ที่สว่างมามืดไป นี่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่บุญเก่าหนุนส่งให้เกิดมาในตระกูลดี มีฐานะ มีความพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ข้าทาสบริวาร แต่กลับไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนมี กลับนิยมสร้างแต่กรรมชั่วไม่เกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษใดๆ อุตส่าห์สั่งสมเสบียงบุญมาดีกลับประมาทพลาดท่าให้กับมารพากลับลงไปท่องนรกกันอีก
ข้อที่สี่ ผู้ที่สว่างมาแล้วสว่างไป เป็นบุคคลที่มาดีไปดีแบบสมบูรณ์แบบ็็้็น มาอย่างสะอาดกลับไปยิ่งสะอาดใหญ่เรียกว่ากินใช้อย่างไรก็ไม่หมด คือ ผู้ที่เกิดมาในตระกูลดี พรั่งพร้อมด้วย รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ปัญญาสมบัติ อีกทั้งยังชอบสร้างบุญสร้างกุศล รักษาศีล ประพฤติธรรมเป็นนิจ ดังนั้นเมื่อตายแล้วจะได้ไปจุติในสุคติสวรรค์แน่นอน
ที่พูดทั้งหมดนี้มิใช่อะไรเป็นเรื่องของผู้ที่มีวาสนาสั่งสมบารมีอย่างชาญฉลาด หรือว่าโง่กับการใช้ชีวิตแบบให้ผ่านไปวันๆ อย่างไร้คุณค่า น่าเสียดายจริงๆ
ก่อนที่จะรู้วิธีเตรียมเสบียงบุญเราควรจะมารู้จักตนเองก่อนว่าเราเป็นคนเช่นไร
ประการแรกลดทิฐิมานะ ตัวทิฐิเป็นตัวโง่ที่ใส่เสื้อทอง เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือคนชอบหามาเลี้ยงไว้ในขันธสันดาน โดยไม่รู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนแก้ไขได้ยาก เพราะคนเหล่านี้มักเป็นพวกสุดโต่ง เช่น
เก่งมาก ทำอะไรก็สำเร็จ จึงรู้สึกว่าไม่ต้องมีใครมาเตือน อย่ามาสอน อย่ามาแนะนำ เพราะเขารู้ทุกอย่าง คนอื่นรู้น้อยกว่าตน(บางทีมีการลองภูมิกันด้วยซ้ำไป) อีกพวกโง่แล้วอวดฉลาดเพราะชอบอวดอ้าง ยกตนข่มท่าน พยายามแสดงว่าตนเองเป็นเลิศไปเสียทุกสิ่งแต่ไม่รู้จริงสักอย่าง อีกพวกคือโง่จริงๆไม่รู้ว่าตัวเองโง่และยังภูมิใจที่จะโง่ต่อไป พวกนี้โบราณว่าถ้าอยู่ในกองทัพให้ฆ่าทิ้งเสีย ที่กล่าวมาเป็นเพียงอุปมาอุปมัย จุดมุ่งหมายที่แท้จริงเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า ดวงจิตของคนเรามีอะไรแอบซ่อนอยู่ ควรสอดส่องให้รู้แจ้งแล้วรีบแก้ไขข้อเสียนั้นด่วน ดวงจิตจะได้ส่องประกายความสว่างไสวพร้อมรับผลแห่งบุญกุศล แก้และลดวิบากกรรมได้ บางท่านทำบุญอย่างไรก็ไม่เห็นบุญ เพราะติดตัวโง่นั่นเอง
วิธีแก้ไช
๑. ลดทิฐิมานะในตัว จุดแรกเราต้องทำใจกว้างๆ ก่อนว่า เรายินยอมให้แสงธรรมเข้ามาสาดส่องดวงจิตของเรา จิตของเราต้องการแสงสว่างให้เข้ามาขจัดความมืดบอด และพร้อมกันนั้นก็ต้องการผู้ชี้ทางออกให้ พร้อมที่จะปฎิบัติธรรมเพื่อมีชีวิตที่สงบเย็นเป็นสุขอันเกษมอย่างแท้จริง จิตดวงนี้ยอมน้อมลงเพื่อที่จะหยุดแรงกรรมกำจัดความมืดแห่งทิฐิตัวโง่นั้น ยอมที่จะอ่อนน้อมและตั้งศรัทธามั่นในพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระภควันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างไม่ติดสงสัย และต้องยอมให้ถูกขัดเกลากิเลสเพื่อให้เกิดมิติใหม่แห่งการดำเนินชีวิต เมื่อทั้งหมดพร้อมแล้วก็เริ่มดำเนินการปฎิบัติธรรมกันต่อไป
๒. ยอมรับเรื่องของกิเลส ที่อยู่ในจิตของเราว่าเรามีกิเลสหนาอยู่ อยากจะขัดเกลากิเลสเหลือเกิน หากไม่อยากก็ยากที่จะขัดเกลา เพราะเรายังรักกิเลสอยู่ ยังเสียดายกิเลสอยู่ เมื่อยังรักยังเสียดายก็ยากแก่การขัดเกลาให้เบาบางหรือหายไปได้ แต่ถ้าเราเบื่อมันแล้วเพราะมันเป็นของร้อนอยากพบกับความเย็นบ้าง มันเป็นของทำให้เราดิ้นรนไปไม่หยุดสักทีเหนื่อยเหลือเกินแล้ว ก็ต้องดับกิเลสตัวไฟ ตัณหาราคะ ตัวอุปปาทานให้หมดไป ลองถามตัวเองสักทีว่าเหนื่อยพอหรือยัง
๓. จิตใจอ่อนโยน จิตมันกระด้างมานาน หยาบคายมานาน ความกระด้างกระเดื่องในธรรมมานาน รู้สึกได้ว่าตนเอง เป็นคนเถื่อน ไม่อยากบ้าใบ จิตใจกระด้าง ไม่อยากเป็นคนเถื่อนก็เริ่มเข้าหาธรรมะ เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นคนว่าง่าย เป็นคนอ่อนโยน เป็นคนมีจิตใจดี มีการกระทำดี และที่สำคัญเป็นคนเสียสละ และพร้อมให้ความรักต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วโลกทั่วจักรวาลไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ทุกคนเสมอกันทุกคนเป็นมิตรต่อกันสังคมมันก็สงบสุข โลกและจักรวาลก็สงบสุข เมื่อทุกอย่างสงบสุข ก็ไม่ต้องมีการรบราฆ่าฟัน ไม่ต้องทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่มีศัตรู ไม่มีเวรมีกรรมต่อกัน อะไรมันจะดีไปกว่านี้
เตรียมเสบียงไปเลี้ยงจิต การเดินตามรอยพระบาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดินตามรอยเท้าพ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์ ไปในทิศทางอันเจริญไม่ตกไปสู่ทางเสื่อมทราม ไม่ให้ตนเป็นคนไร้ศีลขาดธรรมจนกลายเป็นผู้เกิดมาตายเปล่าไร้ประโยชน์ (ประโยชน์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนทางโลก) เรียกว่า “วิธีขจัดตัวโง่ออกไปเอาตัวปัญญาเข้ามาเป็นเจ้าเรือนแทน” อ่านมาถึงตรงนี้คงอยากทราบรายละเอียดแบบหยั่งลึก ชนิดถอนรากถอนโคนเจ้าต้นทิฐิมานะกันแล้วกระมัง ถ้าเช่นนั้นเรามากำจัดเจ้าต้นวัชพืชชีวิตพร้อมๆ กันดีกว่า คำว่า เสบียง หมายถึง สัมภาระที่จัดเตรียมในการเดินทาง เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค น้ำดื่มเป็นต้น และคำว่าเสบียงก็ยังหมายถึงของจำเป็นเท่านั้นสิ่งใดไม่จำเป็นก็ไม่ควรนำไป เพราะจะเกิดเป็นภาระให้ลำบากเปล่าๆพระธุดงค์หรือผู้ที่นิยมการเดินป่าหรือผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำ ย่อมรู้จักคำว่าเสบียงได้ดี และสามารถจัดเสบียงได้ดีด้วย เพราะรู้และเข้าใจว่าสิ่งใดควรนำติดตัวไปสิ่งใดไม่ควร หากพกสิ่งไม่จำเป็นจริงๆ ติดตัวไปก็ยิ่งเพิ่มน้ำหนักสร้างภาระอันหนักหนาสาหัสให้กับตนในขณะการเดินทางไกลนั้น
เสบียงธรรม ที่ต้องเตรียมในการเดินมีอยู่ ๕ สิ่งที่สำคัญมากห้ามลืมเด็ดขาดคือ
๑. จิตที่อ่อนน้อม แต่ไม่อ่อนแอ
๒. ความศรัทธาที่มั่นคง พกไปให้เต็มกระเป๋า จนไม่สามารถบรรจุอะไรได้อีกแล้ว
๓. ร่างกายและจิตใจที่ตั้งตรง ( รักษาศีลปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ) ไม่โน้มเอียงไปทางที่ชั่ว
๔. ความพร้อมที่จะเรียนรู้ไม่ทำตนเป็นน้ำที่เต็มแก้ว และคอยสอดส่อง เพิ่มเติมองค์ความรู้ที่
ถูกต้อง แก้ไขสิ่งที่มืดบอดขจัดความโง่และความดื้อด้าน ความสกปรก ที่สะสมในใจมานาน
ให้หมดไป
๕. ยอมถูกขัดเกลาจิตใจเพื่อเดินสู่ทางสายธรรม ต่อไป
ประการที่สองความหลง คนหลงมีมากมายเหลือเกิน หลงชีวิต หลงลาภยศ หลงสรรเสริญ หลงสุข-ทุกข์ หลงตน หลงรัก-ชัง หลงอาฆาตพยาบาท หลงทรัพย์สินเงินทอง หลงลูก-ผัว-เมีย หลงทรัพย์สินเงินทองพัสถานนาๆ และหลงผิด ทั้งหลงดี-หลงชั่ว ความหลงนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลาเป็นอย่างยิ่ง เหมือนเดินในเขาวงกตเลยทีเดียว กว่าจะออกมาได้บางคนแทบเอาชีวิตไม่รอด แต่ถ้าเดินออกมาจากวังวนนั้นได้ มีหลายคนที่ปฏิญาณตนว่าไม่ขอกลับไปอีกจนวันตาย ถ้าต้องเกิดใหม่ก็ขอให้มีปัญญาขอบุญรักษาให้พ้นจากความหลงทั้งปวงกันเลยทีเดียว เพราะทางมีให้เดินมากหลายทาง แต่ทางเดินใหญ่ๆมีเพียง ๒ ทางเท่านั้นคือ ทางดี กับ ทางชั่ว ซึ่งในหัวข้อทางดี ๑ และทางชั่วอีก ๑ นี้ ในแต่ละทางยังแบ่งแยกย่อยเป็นรากแขนงและรากฝอยไปอีกนับไม่ถ้วน ตามความชอบของแต่ละคน
ถ้าเปรียบชีวิตเป็นเส้นทางแห่งการเดินทางให้เหมือนเส้นทางการเดินรถก็คงไม่ต่างกันเท่าไร คนหนึ่งคนจะเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้นั้น ย่อมต้องผ่านอะไรต่อมิอะไรมากมายเข้ามาในชีวิต ทั้งสุขและทุกข์นานา บ้างก็มีเส้นทางเปรียบดั่งโรยด้วยกลีบกุหลาบ บ้างก็ย่ำเดินบนเสี้ยนหนามอันแหลมคมเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส แต่สิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากพากันลืมไปอย่างสนิทใจ นั่นคือ แผนที่ชีวิต สิ่งๆนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ไม่ควรลืม นอกจากจะต้องใช้แผนที่แล้วยังต้องมี กำลังกาย กำลังใจและพลังแห่งความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ เพื่อใช้ในการก้าวเดินไปสู่จุดหมาย นั่นคือ ชีวิตที่สงบเย็นไม่กลับมารุ่มร้อนทุรนทุรายดั่งถูกไฟนรกแผดเผาอย่างทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบสิ้น
แผนที่ชีวิต แผนที่ชีวิตนี้ควรศึกษากันให้ดี อ่านให้เป็น ศึกษากันให้ทะลุ เดินให้ถูกทางไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางลัด แต่ที่สำคัญต้องเป็นทางที่ถูกต้อง และถูกควร ผู้บัญญัติแผนที่ชีวิตไว้ให้เราได้ศึกษาและเดินตามนั่นคือ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้านั่นเอง ท่านได้เดินนำทางพวกเราไปก่อนแล้ว ท่านได้ทรงตรัสไว้ว่า
“เส้นทางธรรมนี้ทุกคนต้องเดินเอง ปฎิบัติเอง รู้เองเห็นเอง เราเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น” ท่านไม่สามารถที่จะทำแทนใครได้ ทุกอย่างเป็นปัจจัตตังอีกทั้งยังแบ่งมนุษย์ออกเป็น ๔ เหล่าเปรียบคล้ายดอกบัว ๔ เหล่าตามที่เราท่านทั้งหลายเคยศึกษา ได่ยินได้ฟังมานั่นเอง ถ้าเรากลับมาย้อนคิดว่า พระองค์ท่าน กำลังตรัสชี้แนะอะไรให้กับเรา ท่านให้ความรักความเมตตา กรุณาปราณีกับสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าจริงๆ แต่สัตว์โลกทั้งหลายเหล่านั้นจะรับความเมตตาจากท่านได้ไม่เท่ากันตามแต่เหตุแห่งบุญกรรมของแต่ละดวงจิตดวงวิญญาณ แรงกรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากและมีความเที่ยงธรรมที่สุด
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเราก็ควรเป็นผู้ฉลาดที่เลือกกระทำในสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ เหมือนการเลือกกินอาหารควรเลือกกินแต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น สิ่งที่เป็นพิษเราก็ไม่กินร่างกายก็แข็งแรงไม่มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนมันก็เท่านั้น แต่ในการปฏิบัติธรรมมันละเอียดกว่านั้น มันพิถีพิถันกว่านั้นมันต้องตั้งใจอย่างมาก ไม่ใช่สักแต่ว่าทำไป ทำไปทำไมก็ไม่รู้อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เช่นเดียวกันการสร้างกรรมคือการกระทำที่เป็นประโยชน์กับตนเอง ถ้ายังโง่อยู่ก็คงตั้งใจสร้างแต่กรรมชั่วการกระทำที่ชั่วต่อไปก็เข้าสู่นรกอเวจีนั้นเอง
การที่คนเรายังยึดโน่นนี่อยู่ ยังมีตัวกูอยู่ ยังมีของกูอยู่ เห็นทีจะแย่ ดัง บทภารสุตตคาถา
ภารา หะเว ปัญจักขันธา, ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ,
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล, บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป,
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก, การแบกของหนักเป็นความทุกข์ในโลก, เป็นต้น
อ่านมาถึงตรงนี้บางท่านเริ่มเกิดปัญญาเริ่มรู้แล้วว่าเราแบกภาระไว้อย่างหนักเป็นทุกข์มาก แต่ถึงกระนั้น บางสิ่งก็ยังเป็นของที่ต้องรับไว้เป็นภาระต่อไป มิใช่ว่าจะตัดได้ทีเดียว คงจะต้องสั่งสมบารมีธรรมค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆแก้ไข การไม่ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ฟังดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย ฟังดูยากแต่มันไม่ยากมันอยู่ที่เรา ตัวเราเท่านั้นที่พร้อมที่จะเข้าใจและสละตัวกู คำว่าตัวกูแค่คิดก็มากมายหลายอย่าง เช่น ลูกกู ผัวกู เมียกู สมบัติกู ลาภยศสรรเสริญก็ของกู พอเสียของกูไป ก็เสียใจว่าของกูเสียไป เพราะตามสติไม่ทัน ว่าโลกนี้เป็นของคู่กัน ๔ คู่ นั้นคือโลกธรรม ๘ มีได้มาสุดท้ายก็ต้องเสียไป มีรักย่อมมีชัง มีได้ลาภยศ ย่อมเสื่อมลาภเสื่อมยศ มีสรรเสริญย่อมมีนินทา เป็นต้น เมื่อมีสติย่อมไม่มีตัวกูไม่มีของกู แต่ถ้าตามสติไม่ทันย่อมเป็นทุกข์เพราะทุกอย่างเป็นของกูทั้งนั้นยึดไว้แน่นมากเท่าไรก็ทุกข์มากเท่านั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า
วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม
เหมือนดอกไม้งามแต่ไม่มีกลิ่น
วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี
เหมือนดอกไม้งามมีทั้งสีและมีกลิ่น ฉะนั้น
สรุป ท่านต้องการเป็นดอกไม้ที่สวยแต่รูป หรือสวยทั้งรูปและหอมทั้งกลิ่นเหมาะแก่การนำไปบูชาพระรัตนะตรัยก็เชิญเลือกกันตามแต่บุญบารมีเทอญ.
เกษแก้ว ศรัทธาโพธิธรรม

เสบียงธรรมนำชีวิต

เสบียงธรรมนำชีวิต

พระโอวาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงกรุณาตรัสสอนไว้ให้พุทธบริษัทได้พึงปฏิบัติตาม
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง,
กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้,เป็นคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
การไม่พูดร้าย,การไม่ทำร้าย, การสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง, ธรรม ๖ อย่างนี้, เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

“เสบียงธรรม” จุดมุ่งหมายที่จะพูดในความหมายของเสบียงธรรม คือ เป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่มั่นใจว่า อย่างไรซะเราก็ต้องกลับมาเกิดอีกแน่นอนแต่จะเกิดเป็นอะไรนี่สำคัญกว่า ตามหลักพระพุทธศาสนากล่าวว่า คนเราสามารถกำหนดได้ว่าจะไปเกิดเป็นอะไรก่อนที่ตนเองจะตาย กำหนดช้าสุดก็ตอนลมหายสุดท้าย หรือถ้าคนใดรู้เท่าทันกรรม ก้อกำหนดทุกลมหายใจรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เชื่อในพระธรรมที่ว่า “บาปมีจริง บุญมีจริง ทุกอย่างถูกกำหนดด้วยกรรม” คนฉลาดย่อมสามารถกำหนดชาติใหม่กันตั้งแต่ยังไม่ตาย รีบเก็บเกี่ยวคุณงามความดี สั่งสมบุญบารมีอันขาวรอบเพื่อเป็นเสบียงไปไว้ใช้ในลมหายใจหน้า ที่สุดคือชาติหน้าหรือจนกว่าจะสู่แดนอมตะคือแดนนิพพาน
เสบียงธรรม คือ เสบียงบุญ เสบียงที่ใช้เลี้ยงชีวิต จะยากดีมีจนก็อยู่ตรงนี้แหละว่าใครพกบุญมามากกว่ากัน คนไหนขนเอาบาปติดตัวมามากชีวิตก็ทุกข์ทนทุรนทุรายมาก จะตายก็ไม่ได้ต้องทนทุกข์ไปจนกว่าจะสาสม ส่วนคนไหนนำบุญติดตัวมามากชีวิตก็ดูวิจิตรบรรจง ขนาดถ้วยชามช้อนส้อมยังตกแต่งด้วยลายทองก็มากมี มันเป็นเรื่องที่น่าทึ่งแต่เป็นเรื่องจริง นั่นสิแล้วเราๆท่านๆ จะมัวปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไปวันๆ อย่างเรือไม่มีหางเสือกันอย่างนั้นหรือ ไม่อยากลำบากอีกต่อไป ไม่อยากกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสิ่งที่น่าเบื่อที่สุดอีกต่อไป ก้อคงต้องมาศึกษาหาวิธี เตรียมเสบียงไว้ยังชีพเป็นประเด็นแรก ก่อนออกเดินทางสู่หนทางแห่งมรรค ก้าวล่วงพ้นจากกรรม
มนุษย์แบ่งออกเป็น ๔ เหล่า คือ
๑. มืดมามืดไป ๒. มืดมาสว่างไป
๓. สว่างมามืด ๔. สว่างมาสว่างไป
ตามที่บางท่านอาจเคยได้ยินข้อธรรมเหล่านี้มาบ้างแล้ว แต่เคยสำรวจตนเองบ้างหรือไม่ว่า ตนนั้นเข้าข่ายในข้อไหนถ้าเป็น
ข้อหนึ่ง ผู้ที่มืดมาแล้วมืดไป ได้แก่ บุคคลที่เกิดมามีแต่ความขัดสนจนยาก เกิดในตระกูลต่ำ ทั้งยังมีโรคภัยเบียดเบียน นิสัยใจคอเป็นคนตระหนี่ กาย วาจา ใจยังหยาบกระด้าง ทำแต่ความชั่วมิได้มีความละอายใจแต่อย่างใด เมื่อตายเห็นทีน่าใจหายน่าสงสารเพราะอเวจีนรกเป็นที่หมายแน่นอนมาจากนรกก็กลับไปนรกช่างน่าเศร้าจริง
ข้อสอง ผู้ที่มืดมาสว่างไป หมายถึง ผู้ที่เกิดมาในตระกูลต่ำแต่มีใจศรัทธาในการทำความดี นับถือพระพุทธศาสนาละเว้นความชั่วกลัวอบาย ก็ค่อยยังชั่วหน่อยควรแสดงความยินดีด้วยที่ชีวิตมีการพัฒนาบ้างที่ได้รู้วิธีพัฒนาจิตวิญญาณให้ดีขึ้นพ้นจากอเวจีขึ้นมาได้ตายไปสู่สุคติโลกสวรรค์เป็นที่หมาย
ข้อสาม ผู้ที่สว่างมามืดไป นี่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่บุญเก่าหนุนส่งให้เกิดมาในตระกูลดี มีฐานะ มีความพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ข้าทาสบริวาร แต่กลับไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนมี กลับนิยมสร้างแต่กรรมชั่วไม่เกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษใดๆ อุตส่าห์สั่งสมเสบียงบุญมาดีกลับประมาทพลาดท่าให้กับมารพากลับลงไปท่องนรกกันอีก
ข้อที่สี่ ผู้ที่สว่างมาแล้วสว่างไป เป็นบุคคลที่มาดีไปดีแบบสมบูรณ์แบบ็็้็น มาอย่างสะอาดกลับไปยิ่งสะอาดใหญ่เรียกว่ากินใช้อย่างไรก็ไม่หมด คือ ผู้ที่เกิดมาในตระกูลดี พรั่งพร้อมด้วย รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ปัญญาสมบัติ อีกทั้งยังชอบสร้างบุญสร้างกุศล รักษาศีล ประพฤติธรรมเป็นนิจ ดังนั้นเมื่อตายแล้วจะได้ไปจุติในสุคติสวรรค์แน่นอน ที่พูดทั้งหมดนี้มิใช่อะไรเป็นเรื่องของผู้ที่มีวาสนาสั่งสมบารมีอย่างชาญฉลาด หรือว่าโง่กับการใช้ชีวิตแบบให้ผ่านไปวันๆ อย่างไร้คุณค่า น่าเสียดายจริงๆ
ก่อนที่จะรู้วิธีเตรียมเสบียงบุญเราควรจะมารู้จักตนเองก่อนว่าเราเป็นคนเช่นไร

ประการแรกลดทิฐิมานะ ตัวทิฐิเป็นตัวโง่ที่ใส่เสื้อทอง เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือคนชอบหามาเลี้ยงไว้ในขันธสันดาน โดยไม่รู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนแก้ไขได้ยาก เพราะคนเหล่านี้มักเป็นพวกสุดโต่ง เช่น เก่งมาก ทำอะไรก็สำเร็จ จึงรู้สึกว่าไม่ต้องมีใครมาเตือน อย่ามาสอน อย่ามาแนะนำ เพราะเขารู้ทุกอย่าง คนอื่นรู้น้อยกว่าตน(บางทีมีการลองภูมิกันด้วยซ้ำไป) อีกพวกโง่แล้วอวดฉลาดเพราะชอบอวดอ้าง ยกตนข่มท่าน พยายามแสดงว่าตนเองเป็นเลิศไปเสียทุกสิ่งแต่ไม่รู้จริงสักอย่าง อีกพวกคือโง่จริงๆไม่รู้ว่าตัวเองโง่และยังภูมิใจที่จะโง่ต่อไป พวกนี้โบราณว่าถ้าอยู่ในกองทัพให้ฆ่าทิ้งเสีย ที่กล่าวมาเป็นเพียงอุปมาอุปมัย จุดมุ่งหมายที่แท้จริงเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า ดวงจิตของคนเรามีอะไรแอบซ่อนอยู่ ควรสอดส่องให้รู้แจ้งแล้วรีบแก้ไขข้อเสียนั้นด่วน ดวงจิตจะได้ส่องประกายความสว่างไสวพร้อมรับผลแห่งบุญกุศล แก้และลดวิบากกรรมได้ บางท่านทำบุญอย่างไรก็ไม่เห็นบุญ เพราะติดตัวโง่นั่นเอง
วิธีแก้ไข
๑. ลดทิฐิมานะในตัว จุดแรกเราต้องทำใจกว้างๆ ก่อนว่า เรายินยอมให้แสงธรรมเข้ามาสาดส่องดวงจิตของเรา จิตของเราต้องการแสงสว่างให้เข้ามาขจัดความมืดบอด และพร้อมกันนั้นก็ต้องการผู้ชี้ทางออกให้ พร้อมที่จะปฎิบัติธรรมเพื่อมีชีวิตที่สงบเย็นเป็นสุขอันเกษมอย่างแท้จริง จิตดวงนี้ยอมน้อมลงเพื่อที่จะหยุดแรงกรรมกำจัดความมืดแห่งทิฐิตัวโง่นั้น ยอมที่จะอ่อนน้อมและตั้งศรัทธามั่นในพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระภควันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างไม่ติดสงสัย และต้องยอมให้ถูกขัดเกลากิเลสเพื่อให้เกิดมิติใหม่แห่งการดำเนินชีวิต เมื่อทั้งหมดพร้อมแล้วก็เริ่มดำเนินการปฎิบัติธรรมกันต่อไป
๒. ยอมรับเรื่องของกิเลส ที่อยู่ในจิตของเราว่าเรามีกิเลสหนาอยู่ อยากจะขัดเกลากิเลสเหลือเกิน หากไม่อยากก็ยากที่จะขัดเกลา เพราะเรายังรักกิเลสอยู่ ยังเสียดายกิเลสอยู่ เมื่อยังรักยังเสียดายก็ยากแก่การขัดเกลาให้เบาบางหรือหายไปได้ แต่ถ้าเราเบื่อมันแล้วเพราะมันเป็นของร้อนอยากพบกับความเย็นบ้าง มันเป็นของทำให้เราดิ้นรนไปไม่หยุดสักทีเหนื่อยเหลือเกินแล้ว ก็ต้องดับกิเลสตัวไฟ ตัณหาราคะ ตัวอุปปาทานให้หมดไป ลองถามตัวเองสักทีว่าเหนื่อยพอหรือยัง
๓. จิตใจอ่อนโยน จิตมันกระด้างมานาน หยาบคายมานาน ความกระด้างกระเดื่องในธรรมมานาน รู้สึกได้ว่าตนเอง เป็นคนเถื่อน ไม่อยากบ้าใบ จิตใจกระด้าง ไม่อยากเป็นคนเถื่อนก็เริ่มเข้าหาธรรมะ เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่ทำให้คนเป็นคนว่าง่าย เป็นคนอ่อนโยน เป็นคนมีจิตใจดี มีการกระทำดี และที่สำคัญเป็นคนเสียสละ และพร้อมให้ความรักต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วโลกทั่วจักรวาลไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ทุกคนเสมอกันทุกคนเป็นมิตรต่อกันสังคมมันก็สงบสุข โลกและจักรวาลก็สงบสุข เมื่อทุกอย่างสงบสุข ก็ไม่ต้องมีการรบราฆ่าฟัน ไม่ต้องทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่มีศัตรู ไม่มีเวรมีกรรมต่อกัน อะไรมันจะดีไปกว่านี้
เตรียมเสบียงไปเลี้ยงจิต การเดินตามรอยพระบาทแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดินตามรอยเท้าพ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์ ไปในทิศทางอันเจริญไม่ตกไปสู่ทางเสื่อมทราม ไม่ให้ตนเป็นคนไร้ศีลขาดธรรมจนกลายเป็นผู้เกิดมาตายเปล่าไร้ประโยชน์ (ประโยชน์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนทางโลก) เรียกว่า “วิธีขจัดตัวโง่ออกไปเอาตัวปัญญาเข้ามาเป็นเจ้าเรือนแทน” อ่านมาถึงตรงนี้คงอยากทราบรายละเอียดแบบหยั่งลึก ชนิดถอนรากถอนโคนเจ้าต้นทิฐิมานะกันแล้วกระมัง ถ้าเช่นนั้นเรามากำจัดเจ้าต้นวัชพืชชีวิตพร้อมๆ กันดีกว่า คำว่า เสบียง หมายถึง สัมภาระที่จัดเตรียมในการเดินทาง เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค น้ำดื่มเป็นต้น และคำว่าเสบียงก็ยังหมายถึงของจำเป็นเท่านั้นสิ่งใดไม่จำเป็นก็ไม่ควรนำไป เพราะจะเกิดเป็นภาระให้ลำบากเปล่าๆพระธุดงค์หรือผู้ที่นิยมการเดินป่าหรือผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำ ย่อมรู้จักคำว่าเสบียงได้ดี และสามารถจัดเสบียงได้ดีด้วย เพราะรู้และเข้าใจว่าสิ่งใดควรนำติดตัวไปสิ่งใดไม่ควร หากพกสิ่งไม่จำเป็นจริงๆ ติดตัวไปก็ยิ่งเพิ่มน้ำหนักสร้างภาระอันหนักหนาสาหัสให้กับตนในขณะการเดินทางไกลนั้น

เสบียงธรรม ที่ต้องเตรียมในการเดินมีอยู่ ๕ สิ่งที่สำคัญมากห้ามลืมเด็ดขาดคือ
๑. จิตที่อ่อนน้อม แต่ไม่อ่อนแอ
๒. ความศรัทธาที่มั่นคง พกไปให้เต็มกระเป๋า จนไม่สามารถบรรจุอะไรได้อีกแล้ว
๓. ร่างกายและจิตใจที่ตั้งตรง ( รักษาศีลปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ) ไม่โน้มเอียงไปทางที่ชั่ว
๔. ความพร้อมที่จะเรียนรู้ไม่ทำตนเป็นน้ำที่เต็มแก้ว และคอยสอดส่อง เพิ่มเติมองค์ความรู้ที่
ถูกต้อง แก้ไขสิ่งที่มืดบอดขจัดความโง่และความดื้อด้าน ความสกปรก ที่สะสมในใจมานาน
ให้หมดไป
๕. ยอมถูกขัดเกลาจิตใจเพื่อเดินสู่ทางสายธรรม ต่อไป
ประการที่สองความหลง คนหลงมีมากมายเหลือเกิน หลงชีวิต หลงลาภยศ หลงสรรเสริญ หลงสุข-ทุกข์ หลงตน หลงรัก-ชัง หลงอาฆาตพยาบาท หลงทรัพย์สินเงินทอง หลงลูก-ผัว-เมีย หลงทรัพย์สินเงินทองพัสถานนาๆ และหลงผิด ทั้งหลงดี-หลงชั่ว ความหลงนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เสียเวลาเป็นอย่างยิ่ง เหมือนเดินในเขาวงกตเลยทีเดียว กว่าจะออกมาได้บางคนแทบเอาชีวิตไม่รอด แต่ถ้าเดินออกมาจากวังวนนั้นได้ มีหลายคนที่ปฏิญาณตนว่าไม่ขอกลับไปอีกจนวันตาย ถ้าต้องเกิดใหม่ก็ขอให้มีปัญญาขอบุญรักษาให้พ้นจากความหลงทั้งปวงกันเลยทีเดียว เพราะทางมีให้เดินมากหลายทาง แต่ทางเดินใหญ่ๆมีเพียง ๒ ทางเท่านั้นคือ ทางดี กับ ทางชั่ว ซึ่งในหัวข้อทางดี ๑ และทางชั่วอีก ๑ นี้ ในแต่ละทางยังแบ่งแยกย่อยเป็นรากแขนงและรากฝอยไปอีกนับไม่ถ้วน ตามความชอบของแต่ละคน
ถ้าเปรียบชีวิตเป็นเส้นทางแห่งการเดินทางให้เหมือนเส้นทางการเดินรถก็คงไม่ต่างกันเท่าไร คนหนึ่งคนจะเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้นั้น ย่อมต้องผ่านอะไรต่อมิอะไรมากมายเข้ามาในชีวิต ทั้งสุขและทุกข์นานา บ้างก็มีเส้นทางเปรียบดั่งโรยด้วยกลีบกุหลาบ บ้างก็ย่ำเดินบนเสี้ยนหนามอันแหลมคมเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส แต่สิ่งหนึ่งที่คนจำนวนมากพากันลืมไปอย่างสนิทใจ นั่นคือ แผนที่ชีวิต สิ่งๆนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ไม่ควรลืม นอกจากจะต้องใช้แผนที่แล้วยังต้องมี กำลังกาย กำลังใจและพลังแห่งความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ เพื่อใช้ในการก้าวเดินไปสู่จุดหมาย นั่นคือ ชีวิตที่สงบเย็นไม่กลับมารุ่มร้อนทุรนทุรายดั่งถูกไฟนรกแผดเผาอย่างทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบสิ้น
แผนที่ชีวิต แผนที่ชีวิตนี้ควรศึกษากันให้ดี อ่านให้เป็น ศึกษากันให้ทะลุ เดินให้ถูกทางไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางลัด แต่ที่สำคัญต้องเป็นทางที่ถูกต้อง และถูกควร ผู้บัญญัติแผนที่ชีวิตไว้ให้เราได้ศึกษาและเดินตามนั่นคือ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้านั่นเอง ท่านได้เดินนำทางพวกเราไปก่อนแล้ว ท่านได้ทรงตรัสไว้ว่า
เส้นทางธรรมนี้ทุกคนต้องเดินเอง ปฎิบัติเอง รู้เองเห็นเอง เราเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น” ท่านไม่สามารถที่จะทำแทนใครได้ ทุกอย่างเป็นปัจจัตตังอีกทั้งยังแบ่งมนุษย์ออกเป็น ๔ เหล่าเปรียบคล้ายดอกบัว ๔ เหล่าตามที่เราท่านทั้งหลายเคยศึกษา ได่ยินได้ฟังมานั่นเอง ถ้าเรากลับมาย้อนคิดว่า พระองค์ท่าน กำลังตรัสชี้แนะอะไรให้กับเรา ท่านให้ความรักความเมตตา กรุณาปราณีกับสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าจริงๆ แต่สัตว์โลกทั้งหลายเหล่านั้นจะรับความเมตตาจากท่านได้ไม่เท่ากันตามแต่เหตุแห่งบุญกรรมของแต่ละดวงจิตดวงวิญญาณ แรงกรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากและมีความเที่ยงธรรมที่สุด
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเราก็ควรเป็นผู้ฉลาดที่เลือกกระทำในสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ เหมือนการเลือกกินอาหารควรเลือกกินแต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น สิ่งที่เป็นพิษเราก็ไม่กินร่างกายก็แข็งแรงไม่มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนมันก็เท่านั้น แต่ในการปฏิบัติธรรมมันละเอียดกว่านั้น มันพิถีพิถันกว่านั้นมันต้องตั้งใจอย่างมาก ไม่ใช่สักแต่ว่าทำไป ทำไปทำไมก็ไม่รู้อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เช่นเดียวกันการสร้างกรรมคือการกระทำที่เป็นประโยชน์กับตนเอง ถ้ายังโง่อยู่ก็คงตั้งใจสร้างแต่กรรมชั่วการกระทำที่ชั่วต่อไปก็เข้าสู่นรกอเวจีนั้นเอง

การที่คนเรายังยึดโน่นนี่อยู่ ยังมีตัวกูอยู่ ยังมีของกูอยู่ เห็นทีจะแย่ ดัง บทภารสุตตคาถา
ภารา หะเว ปัญจักขันธา, ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ,
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล, บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป,
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก, การแบกของหนักเป็นความทุกข์ในโลก, เป็นต้น
อ่านมาถึงตรงนี้บางท่านเริ่มเกิดปัญญาเริ่มรู้แล้วว่าเราแบกภาระไว้อย่างหนักเป็นทุกข์มาก แต่ถึงกระนั้น บางสิ่งก็ยังเป็นของที่ต้องรับไว้เป็นภาระต่อไป มิใช่ว่าจะตัดได้ทีเดียว คงจะต้องสั่งสมบารมีธรรมค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆแก้ไข การไม่ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ฟังดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย ฟังดูยากแต่มันไม่ยากมันอยู่ที่เรา ตัวเราเท่านั้นที่พร้อมที่จะเข้าใจและสละตัวกู คำว่าตัวกูแค่คิดก็มากมายหลายอย่าง เช่น ลูกกู ผัวกู เมียกู สมบัติกู ลาภยศสรรเสริญก็ของกู พอเสียของกูไป ก็เสียใจว่าของกูเสียไป เพราะตามสติไม่ทัน ว่าโลกนี้เป็นของคู่กัน ๔ คู่ นั้นคือโลกธรรม ๘ มีได้มาสุดท้ายก็ต้องเสียไป มีรักย่อมมีชัง มีได้ลาภยศ ย่อมเสื่อมลาภเสื่อมยศ มีสรรเสริญย่อมมีนินทา เป็นต้น เมื่อมีสติย่อมไม่มีตัวกูไม่มีของกู แต่ถ้าตามสติไม่ทันย่อมเป็นทุกข์เพราะทุกอย่างเป็นของกูทั้งนั้นยึดไว้แน่นมากเท่าไรก็ทุกข์มากเท่านั้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า
วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม
เหมือนดอกไม้งามแต่ไม่มีกลิ่น
วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี
เหมือนดอกไม้งามมีทั้งสีและมีกลิ่น ฉะนั้น

สรุป ท่านต้องการเป็นดอกไม้ที่สวยแต่รูป หรือสวยทั้งรูปและหอมทั้งกลิ่นเหมาะแก่การนำไปบูชาพระรัตนะตรัยก็เชิญเลือกกันตามแต่บุญบารมีเทอญ.

เกษแก้ว ศรัทธาโพธิธรรม

วันพุธที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

เรื่องที่ ๕ กรรมจากการทำแท้ง

เรื่องที่ ๕ กรรมจากการทำแท้ง

“กิจโฉ มนุษะ ปฏิภาโพธิ์” การเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก เป็นพระพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งหนึ่งพระสารีบุตรเคยทูลถามพระพุทธองค์ว่า...
“การจะเกิดเป็นมนุษย์นั้นมีโอกาสมากน้อยเพียงใดพระเจ้าข้าฯ” พระพุทธ์องค์ไม่พูดอะไรเลย แต่ทรงใช้นิ้วมือแตะลงบนพื้นดินแล้วชูขึ้น ตรัสตอบกับพระสารีบุตรว่า
“มีเพียงแค่นี้....สารีบุตร”นั้นหมายถึงสรรพสัตว์ที่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆมีจำนวนมากเทียบเท่ากับดินทั่วไปทั่วพื้นปฐพี แต่ที่สามารถเกิดเป็นมนุษย์ได้....มีเพียงแค่ดินที่ติดปลายนิ้วของพระพุทธองค์เท่านั้น

ทำแท้ง คือ การฆ่าคน เป็นฆาตกรฆ่าลูกในไส้ของตนเอง ไม่ว่าผู้นั้นจะขึ้นชื่อว่าแม่หรือพ่อล้วนเป็นหุ้นส่วนกรรมมหันต์นี้ด้วยกันทั้งคู่ ไม่ต้องโยนบาปให้กันและกัน ไม่ต้องโยนผิดป้ายโทษว่าใครเป็นต้นเหตุ สุดท้ายได้รับกรรมอย่างสาสมด้วยกันทั้งคู่ ความจริงเรื่องการทำแท้งเป็นผลสุดท้ายของความชั่วที่ได้รับการไตร่ตรอง วางแผนทำลายหลักฐานการก่อความชั่ว ส่วนเหตุนั้นมาจากการที่บุคคลขาดการสำรวม ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เห็นความมักมากในกามอารมณ์เป็นของสนุกอย่างไร้ยางอาย ขาดความศรัทธาและขาดความเคารพในธรรม ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความประพฤติที่ประมาทท้าทายต่อธรรม ไม่เกรงกลัวไม่ละอายต่อบาปใดๆ ทั้งสิ้น บาปที่มีโทษหนักที่สุด ๕ ประการ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้สงฆ์แตกแยก ทำร้ายพระวรกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ดังนั้น การทำแท้งจึงมีบาปเท่ากับการฆ่าพระอรหันต์ เหตุเพราะ เด็กในครรถ์ยังบริสุทธิ์ มิเคยได้สร้างบาปกรรมใดๆ เลย และไม่มีเหตุปัจจัยของการสร้างกรรม ชีวิตของเขาจึงบริสุทธิ์ดั่งพระอรหันต์ ดังนั้น การทำแท้งฆ่าเด็กทารกในครรถ์หนึ่งคนจึงมีบาปเท่ากับฆ่าพระอรหันต์หนึ่งพระองค์ การฆ่ามนุษย์นั้นว่าบาปมากแล้ว แต่การฆ่าเด็กทารกที่บริสุทธิ์เป็นบาปหนักยิ่งกว่า

ผลกรรมจากการทำแท้ง พระพุทธองค์ยังได้ตรัสอีกว่า ผู้ที่เคยทำแท้ง ขณะมีชีวิตจะได้รับผลกรรมสนองจากโรคร้าย ป่วยหนัก อายุสั้น การถูกขัดขวางไม่ให้พบความเจริญ ความฉิบหายมาสู่ตนอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ครั้นจบชีวิตแล้วจิตวิญญาณต้องได้รับโทษทัณฑ์ที่แสนสาหัสในนรกภูมิเป็นเวลาอันยาวนานมิอาจประมาณได้ และยิ่งถ้าหากเด็กผู้ตายนั้นมีจิตอาฆาตพยาบาทด้วยแล้วยิ่งลำบากหนัก เพราะจิตอาฆาตนั้นจะเฝ้าจองเวรกันทุกลมหายใจเข้าออก ทำให้ชีวิตไม่เป็นสุขทุกข์ทรมานต้องพบกับความล้มเหลวอย่างไม่หน้าจะเป็นไปได้ หรือบางท่านพบแต่ความทุกข์ระทม ล้มละลายทั้งชีวิตการงานและชีวิตครอบครัวหาความสงบสุขได้ยาก ต้องชดใช้กรรมกันอย่างสาสม จนกว่าแรงกรรมนั้นจะได้ชำระกันจนหมดสิ้น หรือ จนกว่าเป็นที่เพียงพอของจิตวิญญาณนั้น ที่สุดยกให้เป็นอโหสิ
มีตัวอย่างเกี่ยวกับการทำแท้งไว้ให้เป็นอุทาหรณ์ บางท่านอ่านแล้วอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่บางท่านถ้ารู้สึกว่าเรื่องบาปกรรมมันน่ากลัวก็ควรรีบละบาปและเร่งสร้างบุญให้จงมากจะดีกว่าเคยมีสตรีหลายท่านที่เคยมีประสพการณ์ในการทำแท้งมาเล่าให้ฟัง ในขณะที่ดิฉันได้ตรวจดวงชะตาพบว่าเคยทำแท้งมา เป็นเหตุให้ชีวิตในปัจจุบันล้มเหลวตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว สุขภาพ หรือการงาน ล้วนพบแต่ความวิบัติอันสืบมาจากกรรมที่เคยทำแท้ง เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งเมื่อสมัยที่เธอยังเป็นสาววัยรุ่นอยู่ได้พบรักกับชายวัยรุ่นวัยคนอง และได้เสียกันก่อนวัยอันควร แต่ขาดความระมัดระวังจึงตั้งท้อง และด้วยวัยละอ่อนจึงไม่สามารถดูแลรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนกระทำลงไปได้ จึงต้องกำจัดสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิด นั่นคือลูกในท้อง ด้วยการทำแท้ง ต่อมาเธอก็แต่งงานใหม่อย่างมีหน้ามีตากับสามีอีกคนแต่ไม่นานสามีก็เริ่มนอกใจ และมักทำร้ายเธอเสมอแต่ไม่ยอมเลิกลา เวลาดื่มเหล้าแล้วชอบซ้อมเมียเป็นกิจวัตร จะเลิกก็เลิกไม่ได้ ต่อมาไม่นานยังบังคับเอาเงินทองจากเธอไปจนหมดทำให้เธอต้องเป็นหนี้สินมากมาย และสุดท้ายก็เลิกกันโดยไม่มีบุตรด้วยกันทั้งที่อยู่กันมา 5 ปี ผ่านไปไม่นาน เธอแต่งงานใหม่พบชายคนใหม่ก็มีชีวิตที่ไม่สุขสบายอีกเช่นเดิม นรกอยู่ในอกตลอดเวลาจนวันหนึ่งเมื่อมาพบดิฉัน และได้ตรวจกรรมจึงยอมรับสารภาพว่า เคยทำแท้งมาจากการที่รักสนุกในเรื่องกาม เป็นเหตุให้มีชีวิตอับจนเช่นนี้ ก็แนะนำให้เธอไปรักษาศีล และหมั่นทำบุญ อีกทั้งให้ขมากรรมกับเจ้ากรรมนายเวร ให้ละอายเกรงกลัวต่อบาปอย่าได้ทำเช่นนั้นอีกต่อไป จนสุดท้ายที่ได้พบกัน เธอบอกว่า เดี๋ยวนี้ได้พบสามีคนใหม่เป็นคนที่ 3 ซึ่งดีกับเธอมากแต่ไม่สามารถมีลูกด้วยกันได้เพราะเธอได้ตัดมดลูกทิ้งไปแล้วตั้งแต่ตอนอยู่กับสามีคนที่ 2 เพราะเนื้องอกและมดลูกอักเสบอย่างแรง นี่แหละ กรรม

สรรพสัตว์ทุกชนิดในโลกนี้ล้วนรักชีวิตของตนทั้งสิ้น เช่นเดียวกับที่ตัวเราก็รักชีวิตของเราดุจเดียวกัน
จงมีเมตตา และให้ความเคารพในชีวิตของกันและกันเถิด สันติสุขจะเกิดได้เมื่อทุกสรรพสัตว์เคารพในธรรม

จงรักชีวิตของผู้อื่นให้เหมือนรักชีวิตตนเอง
เกษแก้ว ศรัทธาโพธิธรรม

วันพุธที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

อาจารย์ใหญ่สอนธรรมะอยู่ที่ไหน ขั้นที่ ๓

อาจารย์ใหญ่สอนธรรมะอยู่ที่ไหน ขั้นที่ ๓
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกไม่มีคำว่า “โดยบังเอิญ”
ธรรมะจัดสรร กรรมะบันดาล นั่นคือ ความหมายเดียวกับคำว่า กฎแห่งกรรม ลองหันมาพิจารณากันอีกสักครั้ง
หนึ่งชีวิต ตั้งแต่ลืมตาดูโลกล้วนดำเนินไปด้วยอำนาจแห่งกรรมทั้งสิ้น อดีตชาติของคนและสัตว์นั้นมีมากมายนัก จึงได้ทำกรรมกันไว้มากมาย กุศลกรรมบ้างอกุศลกรรมบ้าง ชีวิตในปัจจุบันมีดีบ้างไม่ดีบ้าง สุขบ้างทุกข์บ้าง คนมั่งมีเป็นมหาเศรษฐีพรั่งพร้อมด้วยอำนาจวาสนา ก็ด้วยอำนาจของ กุศลกรรม คือ การบริจาคทานช่วยเหลือเจือจุนผู้อื่น ทำแต่กรรมขาว และมีจิตใจที่งดงาม ได้กระทำสั่งสมมานับชาติไม่ถ้วนไว้ในอดีต นั่นก็เป็นกฎแห่งกรรมว่าด้วย ทำดีได้ดี แต่ เมื่ออกุศลกรรม คือ การคดโกง เบียดเบียนทรัพย์สินให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่มีศีลธรรม สร้างแต่กรรมดำไว้ในอดีต ส่งผลและเป็นผลที่แรงกว่ามีกำลังกว่ากุศลกรรมที่กำลังเสวยผลอยู่ อกุศลกรรมก็จะตัดรอนกุศลกรรม การส่งผลไม่ดีของอกุศลกรรมให้เกิดแทน ความมั่งคั่งมั่งมีก็จะกลับเป็นความอัตคัดขัดสน หรือมีโรคภัยร้ายแรงตัดและบั่นทอนนานา ถึงที่สุดเป็นบุคคลทุพลภาพหรืออายุสั้น สิ้นเนื้อประดาตัวก็มี ผู้ที่มีปัญญาจึงกลัวกรรมเป็นอย่างยิ่งมากกว่าอะไรอื่น กลัวเพราะรู้ว่า เมื่อทำกรรมไม่ดีไว้แล้วต้องได้รับผลไม่ดี และเมื่อถึงเวลาที่กรรมส่งผลไม่ดีมาถึงตัวแล้วหากยังไม่รู้ตัวย่อมจะรอดพ้นผลแห่งกรรมนั้นได้ยาก สิ่งนี้ก็คือ ทำชั่วได้ชั่ว บางคนตั้งแต่เกิดมาในชาตินี้ไม่เคยทำกรรมไม่ดีเช่นนั้น แต่ก็ต้องได้รับผลไม่ดี ที่อาจจะทำให้เกิดความพิศวงสงสัย จนทำให้เกิดเป็นมิจฉาทิฐิความเห็นผิด คือเห็นไปว่าทำดีไม่ได้ดี ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ทำดีต้องได้รับผลดีเสมอ ทำไม่ดีจึงจะได้รับผลไม่ดีความเที่ยงตรงนี้ไม่มีวันผันแปร
วิธีแก้หรือทอนกำลังการส่งผลของอกุศลกรรมในเบื้องต้นท่านต้องเชื่อเรื่องผลของกรรมว่ามีจริงเสียก่อนเมื่อเชื่อเช่นนั้นแล้วก็ไม่เป็นการยากที่เราจะแก้ไขให้ชีวิตดีขึ้นได้ เริ่มต้นด้วยการให้สัญญาว่าจะไม่ทำกรรมไม่ดีอีกทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เชื่อและศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพรผู้มีพระภาคเจ้า และเริ่มค้นคว้าหาวิธีปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ลองเข้ามาศึกษาว่าเหตุของการเกิด ภพชาติ เกิดขึ้นได้อย่างไร คงเคยได้ยินคำว่า ปฏิจสมุปบาท เหตุให้เกิดภพชาติ (การเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น) แต่ก่อนที่จะเข้าไปถึงสิ่งนี้เราลองหาวิธีวางรากฐานของชีวิตให้พ้นจากความชั่วทั้งปวงเพื่อชีวิตที่บริสุทธิ์ คนเราควรมีสามัญสำนึกที่จะต้องดำเนินชีวิตที่ดีงามให้จงได้ และต้องร่วมกันสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ให้เจริญมั่นคง ตามหลักวินัยของคฤหัสถ์ (คิหิวินัย) ดังนี้
กฎ ๑ เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส ๔ การไม่กระทำบาปทางกายอันจะทำให้ชีวิตมัวหมอง คือ ๑. เว้นปาณาติบาตการฆ่าสัตว์ ๒.เว้นอทินนาทานเว้นการลักทรัพย์ ๓.เว้นกาเมสุมิจฉาจารเว้นการประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นมุสาวาทเว้นการพูดเท็จโกหกหลอกลวง
ข. เว้นอคติ ๔ การไม่กระทำผิดทางใจความลำเอียง/ประพฤติคลาดธรรม คือ ๑. เว้นฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบ ๒. เว้นโทสาคติ คือไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. เว้นภยาคติ คือ ไม่ลำเอียงเพราะขลาด ๔. เว้นโมหาคติไม่ลำเอียงเพราะเขลา
ค. เว้นอบายมุข ๖ การไม่หลงมัวเมาอยู่ในหนทางแห่งความโง่ที่ชั่วช้าน่าอับอาย ช่องทางเสื่อมทรัพย์อับชีวิต คือ ๑.ไม่เสพติดสุรายาเมา ๒.ไม่เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา ๓. ไม่จ้องหาแต่รายการบันเทิง ๔. ไม่เหลิงไปหาการพนัน ๕. ไม่พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว ๖.ไม่มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
กฎ ๒ เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน
ก. เลือกสรรคนที่จะเสวนา คบมิตรที่นำไปในทางแห่งความเจริญและสร้างสรรค์ โดยหลีกเว้นมิตรเทียมมิตรพาให้ฉิบหาย คบหาแต่มิตรแท้ คือ ๑. รู้ทันมิตรเทียม หรือ ศัตรูผู้มาในร่างมิตร แบ่งเป็น ๔ ประเภทคือ คนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ คนชวนฉิบหาย ๒. รู้ถึงมิตรแท้ หรือ มิตรด้วยใจจริง (สุหทมิตร) ๔ ประเภท มิตรอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะนำประโยชน์ มิตรมีใจรักเมตตาต่อกัน
ข. จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ ด้วยสัมมาชีพ ดังนี้ ขยันหมั่นเพียรในการทำงานดังผึ้งน้อยสร้างรวงรังและ เก็บออมทรัพย์ที่หามาได้ดังผึ้งเก็บรวมน้ำหวานและเกสร เมื่อก่อร่างสร้างทรัพย์ได้ พึงวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบใช้จ่ายในสิ่งอันเป็นประโยชน์ โดยจัดส่วนดังนี้ ๑ ส่วนใช้เลี้ยงตัว ๑ ส่วนใช้ทำหน้าที่การงานประกอบกิจการอาชีพ ๑ ส่วน เก็บไว้เป็นหลักประกันชีวิตในคราวจำเป็นและเมื่อยามเข้าสู่วัยอาทิตย์อัสดง
กฎ ๓ รักษาความสัมพันธ์ ๖ ทิศ
ก. การทำทุกทิศให้สุขเกษมอย่างถูกฐานะ ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามฐานะและหน้าที่แห่งตนต่อบุคคลที่สัมพันธ์ด้วย
ทิศที่ ๑ ในฐานะที่ตนเป็นบุตร ธิดา พึงเคารพบิดามารดาซึ่งเปรียบเหมือนทิศเบื้องหน้า ทิศที่ ๒ ในฐานะที่เป็นศิษย์ พึงให้ความเคารพนพนอบต่อครูบาอาจารย์ซึ่งเปรียบเหมือนเบื้องขวา ทิศที่ ๓ ในฐานะที่เป็นสามี พึงให้เกียรติบำรุงเลี้ยงภรรยาและครอบครัวซึ่งเปรียบเหมือนทิศเบื้องหลัง ทิศที่ ๔ ในฐานะที่เป็นมิตรสหาย พึงปฏิบัติต่อมิตรสหายอันเป็นเพื่อนแท้ซึ่งเปรียบเหมือนทิศซ้าย ทิศที่ ๕ ในฐานะที่เป็นนายจ้าง พึงบำรุงคนรับใช้และคนงานในเรือนชานที่ตนปกครองซึ่งเปรียบเหมือนทิศเบื้องล่าง ทิศที่ ๖ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน พึงแสดงความเคารพนับถือต่อ พระสงฆ์ผู้ทรงศีล ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องบน
ข. เกื้อกูลประสานสังคม ทำตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมยังประโยชน์อันจะนำมาซึ่งดความสงบสุข เพื่อความเจริญรุ่งเรือง มั่นคงสมานสามัคคี เอกภาพด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ ๑. ทาน คือการเผื่อแผ่แบ่งปัน ด้วยเงินทองหรือข้าวของต่างๆ ตามฐานะแบ่งปันความสุขให้ผู้ร่วมสังคมนั้น ๒. ปิยะวาจา พูดจาอย่างรักกัน มีความไพเราะอ่อนหวานและจริงใจ ไม่กล่าวคำที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก คำพูดควรยังประโยชน์แก่เขาและเราอย่างบริสุทธิ์ ๔. สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมานช่วยสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาโดยธรรม ร่วมทุกข์ร่วมสุขเมื่อมีภัยมา ร่วมยินดีเมื่อมีความสำเร็จและความสุข

การนำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย ๓ ขั้น ดำเนินชีวิตให้บรรลุจุดหมาย (อัตถะ) ๓ ขั้น คือ
ขั้นที่ ๑ ทิฎฐธัมมิกัตถะ ขั้นตาเห็นเกิดประโยชน์ปัจจุบันได้รับผลทันที เช่น ไม่ดื่มเหล้า ไม่มั่วอบาย มีจิตใจใฝ่ในธรรม ผลที่ได้รับ คือ การมีสุขภาพกายดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ อายุยืน, มีเงินมีงานทำมีอาชีพสุจริต พึ่งตนเองได้ไม่เป็นภาระของสังคม, มีสถานภาพดี เป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม, มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ, ทั้ง ๔ นี้พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
ขั้นที่ ๒ สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น เกิดประโยชน์เบื้องหน้าหรือภพหน้า คือ มีความอบอุ่นมั่นใจในกุศลที่ตนสร้างสม ซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้างเลื่อนลอยไม่หวาดหวั่นเมื่อทุกข์ภัยหรือความตายมาเยือน มีหลักยึดเหนี่ยวใจให้เข้มแข็งด้วยศรัทธา, มีความภูมิใจในชีวิตที่สะอาดเปี่ยมความดีมากด้วยบุญกุศล ที่ได้ประพฤติแต่สิ่งอันดีงามด้วยความสุจริต, มีความเต็มบริบูรณ์แห่งกุศลจิต ปิติมั่นคงในชีวิตที่ขาวสะอาด ในชีวิตมีคุณค่าที่ได้ทำประโยชน์ตลอดมาด้วยน้ำใจ เสียสละ, มีความแกล้วกล้าอาจหาญมั่นใจ ที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยสติ นำชีวิตและภารกิจไปได้ ด้วยดวงแก้วแห่งปัญญา, มีความปลอดโปร่งใจ จิตมั่นคง จิตใจไม่หวั่นเกรงต่ออกุศลเรียกว่า มีทุนประกันภพใหม่ ได้ด้วยกุศลที่ได้ทำไว้แต่กรรมที่ดี
ขั้นที่ ๓ ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือประโยชน์อย่างยิ่งอย่างสูงสุด ไม่มีอะไรจะดียิ่งกว่า สูงยิ่งกว่า คือ แม้ว่าจะต้องได้รับการกระทบแห่งโลกธรรม ด้วยเหตุใดก็ตาม พบความผันแปรที่แสบร้อน เจ็บปวดก็ไม่หวั่นไหว เพราะเราได้เตรียมการ ทั้งทางกาย ใจ และเตรียมจิตไว้มั่นคงมุ่งตรงศรัทธาในพระรัตนตรัย เป็นผู้ไม่ประมาท ก้าวเดินตามรอยพระบาทขององค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาทอย่าง ไม่ออกนอกลู่ทาง ดังนั้นก็ไม่หวั่นไหวมีใจเกษมศานต์ที่มั่นคง, ไม่ถูกความยึดมั่นถือมั่น เห็นแต่ตัวกูมาหรอกหลอน ยึดติดบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า หรือระเริงใจริงโลดจนเหมือนผู้ขาดสติ คล้ายเป็นบ้า มีจิตโล่งโปร่งเบาเป็นอิสระต่อเครื่องพันธนาการ บังเกิดความสดชื่น เบิกบานใจ ไร้ความเศร้าหมอง ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้, ชีวิตที่รู้เท่าทันและทำการตรงเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใสเป็นอยู่ด้วยปัญญาไม่หลงทางอีกต่อไป
เรียกว่า “บัณฑิต “(ผู้รู้ )”
การดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นต้องมีแบบแผนมีการเตรียมการก่อนเดินทาง ไม่เช่นนั้นจะเดินผิดทางหลงทางเสียเวลาเสียอนาคต การจะเกิดมาเป็นคนนั้นยากนักหนา แต่การดำรงชีวิตให้อยู่ได้โดยไม่เสียชาติเกิด เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ทั้งทีจะทำอย่างไรให้ชิวิตไม่ขาดทุนและไม่ขาดบุญยิ่งยากลำบากเป็นหลายเท่าพันทวี จึงอยากแนะนำแผนที่ธรรมซึ่งเหมาะควรนำไว้ติดตัวติดใจ เพื่อใช้ ในการเดินทางสู่ความสงบเย็น อันสว่าง สะอาดนั้น แผนที่ธรรมที่จะแนะนำเพื่อใช้เป็นคู่มือการเดินทางนั้นคือ เรื่องราวของอริยะมรรคมีองค์ ๘

อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐสู่ความเป็นอริยะ
มรรคองค์ที่ ๑ สัมมาทิฎฐิ- ความเห็นชอบ มรรคองค์ที่ ๒ สัมมาสังกัปปะ- ความดำริชอบ
มรรคองค์ที่ ๓ สัมมาวาจา-เจรจาชอบ มรรคองค์ที่ ๔ สัมมากัมมันตะ- กระทำชอบ
มรรคองค์ที่๕ สัมมาอาชีวะ- เลี้ยงชีพชอบ มรรคองค์ที่ ๖ สัมมาวายามะ- พยายามชอบ
มรรคองค์ที่๗ สัมมาสติ- ระลึกชอบ มรรคองค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ – ตั้งจิตมั่นชอบ

เกริ่นเรื่องอริยมรรคมีองค์แปดประการแล้วเท่ากับเราได้เริ่มต้น การเดินทางชีวิตที่ถูกต้องและปลอดภัย ปิดหนทางไปนรกอย่างถาวรไว้ติดตามตอนปฏิบัติธรรมกันต่อในคราวหน้า ธรรมย่อมชนะอธรรมเสมอ ขอเพียงเราฉลาดที่จะคิดและฉลาดทำอย่างผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จงศรัทธาเชื่อมั่นและเคารพในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าเถิด

ขอธรรมจงรักษาผู้ประพฤติธรรม
เกษแก้ว ศรัทธาโพธิธรรม