การบูชาพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์
การบูชา มีสอง อย่าง
1. อามิสบูชา 2. ปฏิบัติบูชา ดังนั้นไม่ใช่เหตุผลใดที่จะไม่สามารถบูชาได้
1. บูชาแบบอามิสบูชา คือการบูชา สิ่งศักดิ์ที่ตนเคารพด้วย ข้าวของต่างๆ ที่ตนมี ตั้งต่น้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุดด้วยใจเคารพบูชาและศรัทธาอย่างยิ่ง อันจะยังประโยชน์แก่พระศาสนาให้สามารถดำรงอยู่ได้สืบไปนานเท่านาน เช่น ปัจจัย 4 ทั้งหลาย ให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมอาทิ พระสงฆ์ แม่ชี พราหม์ ผู้รักษาศีล และศาสนาสถาน อุปกรณ์ในการประกอบการดำรงอยู่ของศาสนาทั้งมวล ได้แก่การสละข้าวปลาอาหาร คือการใส่บาตร เป็นต้น สร้างโบสถ์ วิหาร กุฎิ ให้ทุนการศึกษาพระเณร แม่ชี ผู้ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฏก ช่วยเหลือเด็กหรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวัด หรือสถานธรรม เป็นต้น (กล่าวโดยย่นย่อ) และการจัดพิมพ์หนังสือ จักทำสื่อต่างๆ เกี่ยวกับธรรมะทั้งหลายนั้นๆ ด้วยและการช่วยเหลือคน หรือสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลายตามกำลังแห่งปัญญา และความสามารถของตน ขออนุโมทนากับทุกงานบุญและทุกกุศลจิตที่ บังเกิดมาแล้ว กำลังเกิดอยู่ และจะเกิดต่อไปในภาคหน้า กับทุกผู้นามทั้งในอดีต จนถึงปัจจุบันและอนาคต อันมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ รักษาพุทธศาสนาให้ดำรงสืบไป หมายจะละเว้นความชั่ว เพียรสร้างความดี ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาโดยทั่วกัน ปราถนาก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ หลุดพ้นจากวัฎสงสาร เข้าสู่หนทางแห่งสุขาวดี และนิพพานเป็นที่สุด สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
2. ปฏิปฎิบัติบูชา คือการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั่วทั้งแสนหมื่นโกฎจักรวาล ตั้งแต่ องค์สมเด็จพระปฐมบรมมหาศาสดาเจ้า และองค์สมเด็จพระสมณโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา การรักษาศึล เพียรสร้างความดี ละเว้นความชั่วทั้งปวง ถ้าจะทำผิด และหรือกระทำความชั่วใดๆ อันจะเกิดเป็นกรรมแก่ตนและผู้อื่นไม่ขอทำเลยดีกว่า ความละอายต่อบาปมีในเราเสมอ ความเพียรสร้างสมความดีมีอยู่ในเราเสมอและเพิ่มพูนขึ้นทุกลมหายใจเข้า-ออก นั่นคือ ปฏิบัติบูชาขอให้สิ่งนี้มีกับเราและท่านทั้งหลายโดยทั่วกันเถิด สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นี่คือหลักหัวใจสำคัญที่สุดของการสร้างสมบุญ การทำความดี และการก้าวล่วงความทุกข์ที่แท้จริงไม่ต้องรอชาติหน้า ไม่ต้องนึกถึงชาติที่แล้ว และไม่ต้องวิตกกังวลกับชาติอนาคต ลองคิดแล้วทำดูทันที สายฝนแห่งบุญจะตกลงสู่พื้นใจของท่านที่แห้งแล้ง ให้ชุ่มชื่น เบิกบาน ต้นบุญจะงอกเงย ออกดอกผลทันตาเห็นอย่างอัศจรรย์ใจในชั่วพริบตา ไม่ต้องรอนานทำทันทีได้ทันทีจริงๆ อิ่มบุญ อิ่มเอม และที่สุดความเคยชินแบบใหม่จะเกิดกับท่านนั่นคือ ดีจนเคยชิน แต่ไม่ติดดี เพราะเป็นผู้ให้อย่างบริสุทธิ์ ดุจมารดาให้แก่บุตร ให้ความรัก ความเมตตา ให้อาหารกายและอาหารใจ ให้ความรู้ และให้ความปลอดภัย และที่สุดคือให้อนาคตแก่ทุกคนที่เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นคือ เป็นสุข เป็นสุขเถิด ท่านไม่ตกอบายภูมิแน่นอน การกระทำเช่นที่กล่าวนี้ ผู้ใดเคยก่อกรรมใดไว้ก็ตาม จะได้รับการอโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรทุกท่าน ผู้เป็นใหญ่ทั้ง มนุษย์ เทวดา พรหม ก็จะเข้ามามอบความรักความเมตตากับท่านและคนที่ท่านรัก พร้อมทั้งหน้าที่การงาน ความเป็นอยู่ของท่านจะเจริญก้าวหน้ารุดหน้าไม่หยุดยั้ง โรคภัยไข้เจ็บจะทุเลาเบาบางและหายได้ในที่สุด เพียงท่านตั้งใจจริงที่จะสร้างบุญเพื่อรักษาพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็ตาม สุดท้ายเมื่อเข้าใจว่า เราเกิดมาทำไม เมื่อเกิดมาแล้วต้องทำอะไร และสุดท้ายเราจะอยู่ที่ไหน นั่นคือ ปัญญาพิสุทธิ์ ที่ทุกคนควรได้ ควรมีในดวงจิตแห่งตน แล้วท่านก็ไม่ต้องมาวนเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เพราะท่านสอบผ่านแล้ว สาธุ สาธุ สาธุ
การบูชา มีสอง อย่าง
1. อามิสบูชา 2. ปฏิบัติบูชา ดังนั้นไม่ใช่เหตุผลใดที่จะไม่สามารถบูชาได้
1. บูชาแบบอามิสบูชา คือการบูชา สิ่งศักดิ์ที่ตนเคารพด้วย ข้าวของต่างๆ ที่ตนมี ตั้งต่น้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุดด้วยใจเคารพบูชาและศรัทธาอย่างยิ่ง อันจะยังประโยชน์แก่พระศาสนาให้สามารถดำรงอยู่ได้สืบไปนานเท่านาน เช่น ปัจจัย 4 ทั้งหลาย ให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมอาทิ พระสงฆ์ แม่ชี พราหม์ ผู้รักษาศีล และศาสนาสถาน อุปกรณ์ในการประกอบการดำรงอยู่ของศาสนาทั้งมวล ได้แก่การสละข้าวปลาอาหาร คือการใส่บาตร เป็นต้น สร้างโบสถ์ วิหาร กุฎิ ให้ทุนการศึกษาพระเณร แม่ชี ผู้ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฏก ช่วยเหลือเด็กหรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวัด หรือสถานธรรม เป็นต้น (กล่าวโดยย่นย่อ) และการจัดพิมพ์หนังสือ จักทำสื่อต่างๆ เกี่ยวกับธรรมะทั้งหลายนั้นๆ ด้วยและการช่วยเหลือคน หรือสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลายตามกำลังแห่งปัญญา และความสามารถของตน ขออนุโมทนากับทุกงานบุญและทุกกุศลจิตที่ บังเกิดมาแล้ว กำลังเกิดอยู่ และจะเกิดต่อไปในภาคหน้า กับทุกผู้นามทั้งในอดีต จนถึงปัจจุบันและอนาคต อันมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ รักษาพุทธศาสนาให้ดำรงสืบไป หมายจะละเว้นความชั่ว เพียรสร้างความดี ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาโดยทั่วกัน ปราถนาก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ หลุดพ้นจากวัฎสงสาร เข้าสู่หนทางแห่งสุขาวดี และนิพพานเป็นที่สุด สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
2. ปฏิปฎิบัติบูชา คือการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั่วทั้งแสนหมื่นโกฎจักรวาล ตั้งแต่ องค์สมเด็จพระปฐมบรมมหาศาสดาเจ้า และองค์สมเด็จพระสมณโคดม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา การรักษาศึล เพียรสร้างความดี ละเว้นความชั่วทั้งปวง ถ้าจะทำผิด และหรือกระทำความชั่วใดๆ อันจะเกิดเป็นกรรมแก่ตนและผู้อื่นไม่ขอทำเลยดีกว่า ความละอายต่อบาปมีในเราเสมอ ความเพียรสร้างสมความดีมีอยู่ในเราเสมอและเพิ่มพูนขึ้นทุกลมหายใจเข้า-ออก นั่นคือ ปฏิบัติบูชาขอให้สิ่งนี้มีกับเราและท่านทั้งหลายโดยทั่วกันเถิด สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นี่คือหลักหัวใจสำคัญที่สุดของการสร้างสมบุญ การทำความดี และการก้าวล่วงความทุกข์ที่แท้จริงไม่ต้องรอชาติหน้า ไม่ต้องนึกถึงชาติที่แล้ว และไม่ต้องวิตกกังวลกับชาติอนาคต ลองคิดแล้วทำดูทันที สายฝนแห่งบุญจะตกลงสู่พื้นใจของท่านที่แห้งแล้ง ให้ชุ่มชื่น เบิกบาน ต้นบุญจะงอกเงย ออกดอกผลทันตาเห็นอย่างอัศจรรย์ใจในชั่วพริบตา ไม่ต้องรอนานทำทันทีได้ทันทีจริงๆ อิ่มบุญ อิ่มเอม และที่สุดความเคยชินแบบใหม่จะเกิดกับท่านนั่นคือ ดีจนเคยชิน แต่ไม่ติดดี เพราะเป็นผู้ให้อย่างบริสุทธิ์ ดุจมารดาให้แก่บุตร ให้ความรัก ความเมตตา ให้อาหารกายและอาหารใจ ให้ความรู้ และให้ความปลอดภัย และที่สุดคือให้อนาคตแก่ทุกคนที่เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นคือ เป็นสุข เป็นสุขเถิด ท่านไม่ตกอบายภูมิแน่นอน การกระทำเช่นที่กล่าวนี้ ผู้ใดเคยก่อกรรมใดไว้ก็ตาม จะได้รับการอโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวรทุกท่าน ผู้เป็นใหญ่ทั้ง มนุษย์ เทวดา พรหม ก็จะเข้ามามอบความรักความเมตตากับท่านและคนที่ท่านรัก พร้อมทั้งหน้าที่การงาน ความเป็นอยู่ของท่านจะเจริญก้าวหน้ารุดหน้าไม่หยุดยั้ง โรคภัยไข้เจ็บจะทุเลาเบาบางและหายได้ในที่สุด เพียงท่านตั้งใจจริงที่จะสร้างบุญเพื่อรักษาพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็ตาม สุดท้ายเมื่อเข้าใจว่า เราเกิดมาทำไม เมื่อเกิดมาแล้วต้องทำอะไร และสุดท้ายเราจะอยู่ที่ไหน นั่นคือ ปัญญาพิสุทธิ์ ที่ทุกคนควรได้ ควรมีในดวงจิตแห่งตน แล้วท่านก็ไม่ต้องมาวนเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เพราะท่านสอบผ่านแล้ว สาธุ สาธุ สาธุ
โอม มณี เปมา ฮูง โอม มณี เปมา ฮูง โอม มณี เปมา ฮูง / นำโม อามี ทอ ฝอ ฮุก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น